ข้อมูลพื้นฐาน
โครงสร้างการบริหาร
ข้อมูลบุคลากร
งานบริหารบุคคล
งานวิเคราะห์ฯ
การจัดซื้อจัดจ้าง
กิจการสภา
คู่มือการปฏิบัติงาน
การป้องกันการทุจริต
กฏหมายและระเบียบ
ความรู้เกี่ยวกับเทศบาล
เว็บไซต์ท้องถิ่นไทย


  หน้าแรก     ประชาชนสำคัญต่อ เทศบาล ? 

ประชาชนสำคัญต่อ เทศบาล ?
ประชาชนสำคัญต่อ เทศบาล ?  

ประชาชนมีความสำคัญอย่างไรต่อเทศบาล

               การทำให้ประชาชนเกิดความผาสุก มีความเป็นอยู่ที่ดี ได้รับการอำนวยความสะดวก และได้รับการตอบสนองความต้องการ เป็นเป้าหมายของ เทศบาล เพื่อบรรลุเป้าหมายดังกล่าวอย่างมีประสิทธิภาพ ประชาชนต้องเข้ามามีส่วนร่วมดำเนินงานกับ อบต. ด้วย ซึ่งมีสาระสำคัญดังนี้ 
               (1) คัดเลือกคนดี มีควมรู้ความสามารถเหมาะสมเข้าไปมีหน้าที่ ฝ่ายนิติบัญญัติของ เทศบาล คือ สมาชิกสภา เทศบาล และฝ่ายบริหาร เทศบาล คือ นายกเทศมนตรี ด้วยการเลือกตั้งโดยตรงของประชาชนตามกฎหมายเลือกตั้งท้องถิ่น
               (2) เข้าไปบริหารงาน เทศบาล โดยตรง ด้วยการสมัครรับเลือกตั้งเป็นสมาชิกสภาเทศบาล หรือนายกเทศมนตรี 
               (3) ลงคะแนนถอดถอนสมาชิกสภาเทศบาล หรือนายกเทศมนตรี ตามที่กฎหมายกำหนดหากเห็นว่าผู้นั้นไม่สมควรดำรงตำแหน่งต่อไป
               (4) เข้าชื่อกันเสนอให้สภาเทศบาล ออกข้อบัญญัติ เทศบาล ตามที่กฎหมายกำหนด 
               (5) เข้าฟังการประชุมสภาเทศบาล อย่างสม่ำเสมอ 
               (6) ติดตามข้อมูลข่าวสารของ เทศบาล อย่างสม่ำเสมอ ร่วมกิจกรรมต่างๆที่ เทศบาล จัดขึ้น

ตรวจสอบการทำงานและพฤติกรรมของบุคลากร เทศบาล ให้คำแนะนำหรือสนับสนุนการดำเนินงานของ เทศบาล
               (7) ร่วมจัดทำแผนพัฒนาของ เทศบาล ทั้งแผนยุทธศาสตร์การพัฒนาและแผนพัฒนา 3 ปีของ เทศบาล ทุกขั้นตอน 
               (8) ร่วมเป็นคณะกรรมการในการจัดซื้อ หรือการจัดจ้างโครงการต่างๆ ของ เทศบาล ทั้งโดยวิธีสอบราคา ประกวดราคา หรือวิธีพิเศษของ เทศบาล อย่างน้อยคณะละ 2 คน
               (9) ปฏิบัติตามกฎหมายบ้านเมือง และข้อบัญญัติของ เทศบาล 
               (10) เสียภาษีให้แก่ เทศบาล อย่างครบถ้วน
               (11) ประชาชนจะได้รับความคุ้มครองจากการกระทำฝ่าฝืนต่อความสงบเรียบร้อยหรือสวัสดิภาพของประชาชน หรือละเลยไม่ปฏิบัติตาม หรือปฏิบัติการไม่ชอบด้วยอำนาจหน้าที่ของนายกเทศมนตรี รองนายกเทศมนตรี ประธานสภาเทศบาล หรือรองประธานสภาเทศบาล หากมีพฤติกรรมดังกล่าว นายอำเภอจะดำเนินการสอบสวนแล้วรายงานผู้ว่าราชการจังหวัดสั่งให้บุคคลดังกล่าวพ้นจากตำแหน่ง 
               (12) ประชาชนจะได้รับการแก้ไขปัญหา พัฒนาความเป็นอยู่ และได้รับการบริการสาธารณะจาก เทศบาล ตามอำนาจหน้าที่ของ เทศบาล

          การเลือกตั้ง 

           1. ทำไมต้องไปเลือกตั้ง 
               การเลือกตั้งเป็นหน้าที่ของคนไทยทุกคนในระบอบประชาธิปไตยที่เราต้องไปใช้สิทธิลงคะแนนในการเลือกตัวแทนเข้าไปทำหน้าที่ปกป้องผลประโยชน์และดูแลทุกข์สุขของประชาชน
               การเลือกผู้แทนของประชาชนในเขต เทศบาล คือ สมาชิกสภาเทศบาล และนายกเทศมนตรี เพื่อเข้าไปทำหน้าที่ต่างๆ แทนเรา เช่น การออกข้อบัญญัติ เทศบาล ที่จะมาบังคับใช้กับประชาชน การพัฒนาหมู่บ้านและตำบล การใช้จ่ายงบประมาณที่มาจากภาษีของประชาชน ซึ่งล้วนเป็นเรื่องที่ส่งผลกระทบต่อชีวิตประจำวันของเราทั้งนั้น ซึ่งหากมีการออกข้อบัญญัติ เทศบาล ที่ดีหรือมีการจัดทำแผนพัฒนาหรือโครงการที่ดีใช้จ่ายเงินงบประมาณอย่างถูกต้องก็จะทำให้ชุมชนที่อยู่ใน เทศบาล ดีขึ้น 

          2. คุณสมบัติของผู้มีสิทธิเลือกตั้ง 
              (1) มีสัญชาติไทย ถ้าแปลงสัญชาติต้องได้สัญชาติไทยมาแล้วไม่น้อยกว่า 3 ปี 
              (2) อายุไม่ต่ำกว่า 18 ปีบริบูรณ์ในวันที่ 1 มกราคมของปีที่มีการเลือกตั้ง
              (3) มีชื่ออยู่ในทะเบียนบ้านในเขตเลือกตั้งติดต่อกันไม่น้อยกว่า 1 ปี นับถึงวันเลือกตั้ง (การเลือกตั้งสมาชิกสภาเทศบาล ให้ถือเขตหมู่บ้านเป็นเขตเลือกตั้ง: การเลือกตั้งนายกเทศมนตรี ให้ใช้เขต เทศบาล นั้นเป็นเขตเลือกตั้ง) 
              (4) ผู้ที่ย้ายทะเบียนบ้านจากหมู่บ้านหนึ่งไปยังอีกหมู่บ้านหนึ่งภายใน อบต. เดียวกันไม่ถึง 1 ปีนับถึงวันเลือกตั้ง สามารถไปลงคะแนนเลือกตั้งสมาชิกสภาเทศบาล ในหมู่บ้านที่ตนมีชื่ออยู่ในทะเบียนบ้านครั้งสุดท้ายเป็นเวลาติดต่อกันไม่น้อยกว่า 1 ปี และเลือกตั้งนายกเทศมนตรี ได้ด้วย 

          3. การเตรียมตัวไปเลือกตั้ง 
               ขั้นตอนที่ 1 ตรวจสอบชื่อ – นามสกุล และที่เลือกตั้ง ก่อนวันเลือกตั้งไม่น้อยกว่า 20 วัน
               ขั้นตอนที่ 2 การเพิ่มชื่อ – ถอนชื่อผู้มีสิทธิเลือกตั้ง ก่อนวันเลือกตั้งไม่น้อยกว่า 10 วัน 
               ขั้นตอนที่ 3 การแจ้งเหตุไม่ไปใช้สิทธิเลือกตั้ง ก่อนวันเลือกตั้งไม่น้อยกว่า 7 วัน 

          4. การเตรียมหลักฐานไปเลือกตั้ง 
               ก่อนไปลงคะแนน ขอให้เตรียมความพร้อม – หลักฐานอย่างใดอย่างหนึ่งเพื่อใช้ลงคะแนนเลือกตั้งดังนี้
              (1) บัตรประจำตัวประชาชน หรือบัตรประจำตัวประชาชนที่หมดอายุ 
              (2) ใบรับคำขอมีบัตรหรือเปลี่ยนบัตรใหม่ที่ติดรูปถ่ายและประทับตราเจ้าหน้าที่ (ใบเหลือง) 
              (3) ใบแทนใบรับคำขอมีบัตรที่ติดรูปถ่ายและประทับตราเจ้าหน้าที่ (ใบชมพู)
              (4) บัตรประจำตัวเจ้าหน้าที่ของรัฐ หรือบัตรประจำตัวเจ้าหน้าที่ของรัฐผู้รับบำเหน็จบำนาญ 
              (5) ใบอนุญาตขับรถที่ออกโดยกรมการขนส่งทางบก ที่มีหมายเลขประจำตัวประชาชนและรูปถ่าย
              (6) หนังสือเดินทางที่ออกโดยกระทรวงการต่างประเทศที่มีหมายเลขประจำตัวประชาชนและรูปถ่าย 

          5. วิธีการเลือกตั้ง 
               การเลือกตั้งสมาชิก สภา เทศบาล ใช้หมู่บ้านเป็นเขตเลือกตั้ง ผู้มีสิทธิเลือกตั้งลงคะแนนให้ผู้สมัครได้เท่าจำนวนสมาชิกที่พึงมีในเขตเลือกตั้งนั้น ดังนี้ 
            - เทศบาล ที่มีหมู่บ้านเดียว เลือกผู้สมัครสมาชิกสภา เทศบาล ได้ 6 คน 
            - เทศบาล ที่มีเพียง 2 หมู่บ้าน เลือกผู้สมัครสมาชิกสภา ได้ 3 คน 
            - เทศบาล ที่มีมากกว่า 2 หมู่บ้าน เลือกผู้สมัครสมาชิกสภาเทศบาล ได้ 2 คน
               การเลือกตั้ง นายกเทศมนตรี ใช้เขต เทศบาล เป็นเขตเลือกตั้ง ผู้มีสิทธิเลือกตั้งผู้สมัครนายกเทศมนตรี ได้ 1 คน 

          6. การเสียสิทธิเมื่อไม่ได้ไปใช้สิทธิเลือกตั้ง 
               6.1 กฎหมายกำหนดให้บุคคลมีหน้าที่ไปใช้สิทธิเลือกตั้ง เมื่อการเลือกตั้งเป็นทั้งหน้าที่และสิทธิหากไม่ได้ไปทำหน้าที่ใช้สิทธิเลือกตั้ง และไม่ได้แจ้งเหตุอันควรที่ทำให้ไม่เลือกตั้งจะมีผลให้เสียสิทธิในระดับท้องถิ่น ดังนี้ 
                   (1)  สิทธิยื่นคำร้องคัดค้านการเลือกตั้งสมาชิกสภา อบจ. สมาชิกสภาเทศบาล สมาชิกสภา อบจ. สมาชิก กทม. สมาชิกสภาเมืองพัทยา ผู้ว่าฯ กทม. นายกเทศมนตรี นายกเมืองพัทยา นายก อบจ. นายกเทศมนตรี 
                   (2)  สิทธิร้องคัดค้านการเลือกกำนันและผู้ใหญ่บ้าน 
                   (3)  สิทธิสมัครรับเลือกตั้งเป็น สมาชิกสภา อบต. สมาชิกสภาเทศบาล สมาชิกสภา อบจ. สมาชิกสภา กทม. สมาชิกสภาเมืองพัทยา ผู้ว่าฯ กทม. นายกเทศมนตรี นายกเมืองพัทยา นายก อบจ. นายก อบต.
                   (4)  สิทธิสมัครรับเลือกตั้งเป็นกำนันและผู้ใหญ่บ้าน 
                   (5)  สิทธิเข้าชื่อร้องขอให้สภาท้องถิ่นพิจารณาออกข้อบัญญัติท้องถิ่น 
                   (6)  สิทธิเข้าชื่อร้องขอให้ถอดถอนสมาชิกสภา อบต. สมาชิกสภาเทศบาล สมาชิกสภา อบจ. สมาชิกสภา กทม. สมาชิกสภาเมืองพัทยา ผู้ว่าฯ กทม. นายกเทศมนตรี นายกเมืองพัทยา นายก อบจ. นายก อบต.

               6.2 การจะได้สิทธิต่างๆ ที่เสียไปกลับคืนมา เมื่อไปใช้สิทธิเลือกตั้งในครั้งต่อไป ดังนี้ 
                    (1)  ถ้าหากการเสียสิทธินั้นเกิดจากการที่เราไม่ไปใช้สิทธิเลือกตั้งในระดับชาติ คือ ส.ส. หรือ ส.ว.จะต้องไปใช้สิทธิเลือกตั้ง ส.ส. หรือ ส.ว. อย่างใดอย่างหนึ่ง สิทธิที่เสียไปจะได้กลับคืนมา 
                    (2)  ถ้าหากการเสียสิทธินั้นเกิดจากการที่เราไม่ไปใช้สิทธิในการเลือกตั้งในระดับท้องถิ่น จะต้องไปใช้สิทธิเลือกตั้ง สมาชิกสภา อบต. สมาชิกสภาเทศบาล สมาชิกสภา อบจ. สมาชิกสภาเมืองพัทยา สมาชิกสภากรุงเทพมหานคร นายก อบจ. นายก อบต. นายกเทศมนตรี นายกเมืองพัทยา หรือผู้ว่าฯ กทม. อย่างใดอย่างหนึ่ง สิทธิที่เสียไปในระดับท้องถิ่นจึงได้กลับคืนมา

 


 

สายตรงผู้บริหาร

นายกเทศมนตรีตำบลสระขุด
นายวินัย พรหมสุรินทร์
ปฏิทินกิจกรรม
ตุลาคม 2567
อา พฤ
29 30 1 2 3 4 5
6 7 8 9 10 11 12
13 14 1516 17 18 19
20 21 22 23 24 25 26
27 28 29 30 31 1 2
3 4 5 6 7 8 9
วันที่ 15 ตุลาคม 2567
สถิติผู้เข้าชมเว็บไซต์
ออนไลน์ทั้งหมด 2 คน
หมายเลข IP 44.192.95.161
คุณเข้าชมลำดับที่ 1,528,035

ช่องทางการติดต่อ
อบต.ในเครือข่าย

การให้บริการ
แบบสำรวจการใช้บริการ
การประเมินความพึงพอใจ
บริการประชาชน
เว็บไซต์บริการ
เรื่องทั่วไป
สารคดีเฉลิมพระเกียรติ
999arch คาสิโนออนไลน์ เครดิตฟรี สล็อตออนไลน์ เครดิตโบนัสได้เงินจริง slot938 สล็อต สล็อตออนไลน์ thaicasinobin แจกเครดิตฟรี สล็อต บาคาร่า คาสิโนออนไลน์ JQK41 สล็อต เครดิตฟรี ไทยคาสิโนออนไลน์ thaibet55 kubet ไทยคาสิโนออนไลน์ แทงบอล ซอคเกอร์ลีก คะแนนฟุตบอล เว็บพนันอันดับ1 HUC99 เว็บตรง ไม่ผ่านเอเย่นต์
 
สำนักงานเทศบาลตำบลสระขุด
223 หมู่ที่ 2 ตำบลสระขุด อำเภอชุมพลบุรี จังหวัดสุรินทร์ 32190
Tel : 09-1134-1923   Fax : -
Email : sakot_surin@hotmail.com
Copyright © 2020 by OPSTECH All Right Reserved.